
บริการเอกสารจดทะเบียนสมรสกับเยอรมันที่ประเทศเยอรมัน
ค่าบริการ
เตรียมเอกสารจดทะเบียนสมรส -กรณีโสดไม่เคยจดทะเบียนสมรส
ค่าบริการ 24,500 บาท
กรณี เปลี่ยนชื่อ หย่า มีเอกสารเพิ่มเติม 3,500 บาท ต่อ 1 เอกสาร
ค่าบริการรวม , แปลเยอรมัน, รับรองการไม่ปลอมแปลง เอกสารดังต่อไปนี้
1. ใบเกิด
2. ใบโสด
3. ใบนางเลิ้ง คัดให้ฟรี
4. ทะเบียนบ้าน
รวมจองคิวการทำใบมอบอำนาจในขั้นตอนที่ 4 , ล่าม ( ไม่รวมค่าธรรมเนียมสถานทูตเยอรมันในการมอบอำนาจและรับรองหนังสือเดินทาง 2900 )
ไม่รวมส่งเอกสารทาง UPS ให้แฟนที่เยอรมัน
- ภายในประเทศ 150 บาท
- ต่างประเทศเริ่มต้น 1,200 บาท
ไม่รวมวีซ่าเพื่อจดทะเบียนสมรส
ขั้นตอน
ขั้นตอนที่ 1 :
เตรียมเอกตามรายการเอกสาร
ขั้นตอนที่ 2,3 :
ส่งเอกสารฝ่ายคนไทยมายัง VISABKK
เพื่อดำเนินการ รับรองการไม่ปลอมแปลง และแปล
ขั้นตอนนี้ใช้เวลา 2 เดือน
ขั้นตอนที่ 4 :
มอบอำนาจให้คู่สมรสเยอรมัน พื่อยื่นจดทะเบียนสมรสที่สถานทูตเยอรมันที่ไทย
ระยะเวลา 1 วัน
ขั้นตอนที่ 5 :
ส่งเอกสารให้คู่สมรสเยอรมันเพื่อแจ้งขอจดทะเบียนสมรส และ ขอใบนัดจดทะเบียนสมรส
ที่ Anmeldung zur eheschließung
ระยะดำเนินการ 2-4 เดือน
ขั้นตอนที่ 6 :
คู่สมรสส่งเอกสารกลับมายังไทย
เพื่อยื่นวีซ่าแต่งงาน ( ตัวจริง )
1. ใบนัดจจดทะเบียนสมรส
2. ใบเชิญที่เหลือง
ขั้นตอนที่ 7 :
ยื่นวีซ่าแต่งงาน
กดเพื่อดูรายละเอียดวีซ่า
รายละเอียดเอกสาร
ขั้นตอนที่ 1 : เตรียมเอกสารฝ่ายไทย
*ให้แฟนชาวเยอรมัน ตรวจสอบรายการเอกสารกับทางอำเภอที่เยอรมันเพราะบางอำเภออาจขอเอกสารไม่เหมือนกัน
รายการเอกสารฝ่ายคนไทย ( สำเนา และ ตัวจริง )
-
ใบเกิดหรือหนังสือรับรองการเกิด (กรณีที่ใบเกิดหาย)
-
หนังสือรับรองความเป็นโสด (มีอายุ ไม่เกิน 6 เดือน เมื่อขอหนังสือรับรองโสดมาแล้วต้องดำเนินการทันที่ เพราะขั้นตอนต่อไปใช้ระยะเวลานาน)
-
ทะเบียนบ้านหรือแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎร (ทร.14/1)
-
ใบเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุล ( กรณีที่เคยเปลี่ยนชื่อ หรือนามสกุล)
-
ผลการตรวจสอบจากทะเบียนกลางกรมการปกครอง เกี่ยวกับสถานภาพการสมรสโดยสามารถ ขอได้ที่ ตึก 3 ถ.นครสวรรค์ แขวงดุสิต (ใกล้สนามม้านางเลิ้ง) เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10210 ขอใบเกี่ยวกับงานทะเบียนครอบครัว เพื่อค้นหาประวัติการจดทะเบียนสมรสและหย่าทั้งหมด บอกเขาว่าจะเอาเอกสารไปยื่นเรื่องแต่งงานที่สถานฑูตเยอรมัน
-
หนังสือรับรองความเป็นโสด (มีอายุไม่เกิน6เดือนเมื่อขอหนังสือรับรองโสดมาแล้วต้องดำเนินการทันทีเพราะขั้นตอนต่อไปใช้ระยะเวลานาน)
-
กรณีที่เคยจดทะเบียนสมรสมาก่อน
6.1 เอกสารเพิ่มเติม กรณีหย่า
-
ใบสำคัญการสมรส คร 3 และ บันทึกการสมรส คร 2 ( คู่สมรสเดิม)
-
ใบสำคัญการหย่า คร 7 และ บันทึกการหย่า คร 6 (คู่สมรสเดิม)
-
กรณีฟ้องหย่า คำพิพากษาการหย่า และ หนังสือรับรองคดีถึงที่สุด
6.2เอกสารเพิ่มเติม กรณีหม้าย
-
ทะเบียนสมรส คร 3 และ บันทึกการสมรส คร 2 ( คู่สมรสเดิม)
-
ใบมรณะบัตร
หมายเหตุ : เอกสารห้ามเคลือบพลาสติก กรณีเอกสารเป็นสำเนาจากอำเภอสำเนาต้องชัดเจนเห็นขอบทั้ง2ข้างและประทับตรารับรองสำเนา ณ วันที่ปัจจุบัน
ขั้นตอนที่ 2 : รับรองการไม่ปลอมแปลงเอกสาร โดยสถานทูตเยอรมันประจำประเทศไทย ระยะเวลาดำเนินการ 2 เดือน จองคิวล่างหน้า
ขั้นตอนที่ 3 : การแปลเอกสารรายการ 1-6 เป็นภาษาเยอรมัน
ขั้นตอนที่ 4 : การมอบอำนาจให้ฝ่ายชาวเยอรมันไปดำเนินการขอเอกสารการจดทะเบียนสมรส ( Vollmacht zur Anmeldung der Eheschließung)
1. ฝ่ายชาวเยอรมันไปขอแบบฟอร์มหนังสือมอบอำนาจที่สำนักงานทะเบียนในประเทศเยอรมัน แล้วสแกนแบบฟอร์มหนังสือมอบอำนาจและสำเนาหนังสือเดินทางฝ่ายชาวเยอรมัน+ ลายเซ็น ส่งทางemail *แบบฟอร์มในแต่ละเมืองไม่เหมือนกัน
2. จองคิวหัวข้อ Certifications of signatures and marital matters กดเพื่อจองคิว
3. นัดหมายล่ามเพื่อแปลใบมอบอำนาจปากเปล่า ( ล่ามจะแปล,กรอก,ทำใบแปะหน้า)
4. เมื่อถึงวันนัดหมายสถานทูตเยอรมันเตรียมเอกสารและแจ้งเจ้าหน้าที่สถานทูตว่า "มอบอำนาจเพื่อให้แฟนไปดำเนินการขอจดทะเบียนสมรสที่เยอรมัน และรับรองหนังสือเดินทางฝ่ายคนไทย" โดยเตรียมเอกสารดังต่อไปนี้ ดำเนินการด้วยตนเอง
4.1 แบบฟอร์มหนังสือมอบอำนาจที่แฟนชาวเยรมันส่งมา
4.2 สำเนาหนังสือเดินทางฝ่ายชาวเยอรมัน
4.3 สำเนาหนังสือเดินทางฝ่ายชาวไทย
4.4 ใบแปะหน้าที่ล่ามออกให้เพื่อรับรอว่าได้แปลให้ฟังแล้ว
4.5 เจ้าหน้าที่สถานทูตจะสอบถามว่า เข้าใจเนื้อหาในเอกสารไหมล่ามแปลให้ฟังรือยัง ให้ตอบว่า" เข้าใจ ล่ามแปลให้ฟังแล้ว"
ขั้นตอนที่ 5 : ส่งเอกสารตัวจริงที่ได้ดำเนินการในข้อ 1-4 และ สำเนาหนังสือเดินทางฝ่ายชาวไทยตามทุกหน้าทุกเล่ม ไปให้แฟนชาวเยอรมัน เพื่อขอจดทะเบียนสมรส และใบนัดจดทะเบียนสมรส” (Bescheinigung über die Anmeldung der Eheschließung)
(เอกสาร 1-4 ถ่ายสำเนาไว้ 2ชุด) ขั้นตอนนี้ใช้เวลา 2-4 เดือนอยู่กับเขตอำเภอเยอรมัน
ขั้นตอนที่ 6 : การยื่นวีซ่าเพื่อจดทะเบียนสมรสที่เยอรมัน กดเพื่อดูรายละเอียด