top of page

จดทะเบียนสมรสกับชาวเยอรมัน


รายละเอียดเอกสาร , แต่งงานเยอรมัน 


ขั้นตอนที่ 1 : เตรียมเอกสารฝ่ายไทย รายการเอกสารฝ่ายคนไทย ( สำเนา และ ตัวจริง ) หนังสือเดินทาง บัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนบ้าน หรือ แบบรับรองรายการทะเบียนราษฎร (ทร.14/1) ใบเกิด หรือ หนังสือรับรองการเกิด ( กรณีที่ใบเกิด หาย) ใบเปลี่ยนชื่อ หรือ นามสกุล ( กรณีที่เคยเปลี่ยนชื่อ หรือนามสกุล) ผลการตรวจสอบจาก ทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เกี่ยวกับสถานภาพการสมรสโดยสามารถ ขอได้ที่ ตึก 3 ถ.นครสวรรค์ แขวงดุสิต (ใกล้สนามม้านางเลิ้ง) เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10210 ขอใบเกี่ยวกับงานทะเบียนครอบครัว เพื่อค้นหาประวัติการจดทะเบียนสมรสและหย่าทั้งหมด บอกเขาว่าจะเอาเอกสารไปยื่นเรื่องแต่งงานที่สถานฑูตเยอรมัน หนังสือรับรองความเป็นโสด ( มีอายุ ไม่เกิน 6 เดือน เมื่อขอหนังสือรับรองโสดมาแล้วต้องดำเนินการทันที่ เพราะขั้นตอนต่อไปใช้ระยะเวลานาน) กรณีที่เคยจดทะเบียนสมรสมาก่อน 8.1 เอกสารเพิ่มเติม กรณีหย่า ทะเบียนสมรส และ บันทึกการสมรส คร 2 ( คู่สมรสเดิม) ทะเบียนการหย่า และ บันทึกการหย่า คร 6 (คู่สมรสเดิม) ใบสำคัญการหย่า คร 7 กรณีฟ้องหย่า คำพิพากษาการหย่า แลพ หนังสือรับรองคดีถึงที่สุด 8.2 เอกสารเพิ่มเติม กรณีหม้าย ทะเบียนสมรส และ บันทึกการสมรส คร 2 ( คู่สมรสเดิม) ใบมรณะบัตร ขั้นตอนที่ 2 : รับรองการไม่ปลอมแปลงเอกสาร โดยสถานทูตเยอรมันประจำประเทศไทย ระยะเวลาดำเนินการ 4-8 สัปดาห์ ขั้นตอนที่ 3 : การแปลเป็นภาษาเยอรมันฝ่ายคนไทย นำเอกสาร รายการเอกสาร ขอ ที่ 3-9 แปลเป็นภาษาเยอรมัน ระยะเวลาดำเนินการ1 สัปดาห์ ขั้นตอนที่ 4 : ส่งเอกสารฝ่ายคนไทยไปให้ฝ่ายชาวเยอรมัน ขั้นตอนที่ 5 : เตรียมเอกสารฝ่ายเอกสารฝ่ายชาวเยอรมัน ( ตัวจริงและสำเนา) หนังสือเดินทาง หรือ บัตรประชาชน ใบรับรองถิ่นพำนักในประเทศเยอรมัน หรือ ใบแจ้งย้ายสำมะโนครัวออกจากประเทศเยอรมัน สูติบัตร คำพิพากษาหย่าที่มีตราประทับรับรองว่ามีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย หรือ มรณบัตรของคู่สมรสเดิม ขั้นตอนที่ 6 : การขอ Ehefähigkeitszeugnis ซึ่งมีอายุไม่เกิน 6 เดือน ที่ประเทศเยอรมัน 1. คู่สมรสฝ่ายสัญชาติเยอรมันจะต้องยื่นคำร้องขอหนังสือดังกล่าวต่อทางสำนักทะเบียนที่ตนมีถิ่นพำนักสังกัดในประเทศเยอรมัน ในกรณีที่ไม่มีถิ่นพำนักในประเทศเยอรมันต้องยื่นคำร้องขอไปยังสำนักทะเบียนเยอรมันที่ผู้ร้องเคยแจ้งพำนักอยู่เป็นครั้งสุดท้าย 2. เอกสาร ได้แก่ 2.1 แบบฟอร์มคำร้องขอรับได้ที่สถานทูต สำนักทะเบียนเยอรมัน หรือจากเว็บไซต์www.berlin.de/standesamt1/partnerschaft ทั้งนี้ในการยื่นคำร้องคู่สมรสชาวเยอรมันจะต้องแสดงเอกสารของคู่สมรสฝ่ายสัญชาติไทยต่อนายทะเบียนเยอรมันด้วย เพราะนายทะเบียนจะต้องตรวจสอบว่าคู่สมรสทั้งสองมีคุณสมบัติครบถ้วนตามกฎหมายเยอรมันที่จะจดทะเบียนสมรสกันหรือไม่ 2.2 เอกสาร ฝ่ายชาวเยอรมัน ที่ รับรอง (Legalisationsvermerk) 2.3 เอกสาร ฝ่ายคนไทย ที่แปล และ รับรองการปลอมแปลงแล้ว ขั้นตอนที่ 7 : การขอหนังสือรับรอง Konsularbescheinigung ระยะดำเนินการ 3-4 วันทำการ 1. แบบสอบถามข้อมูลส่วนตัว 2. รายละเอียดเอกสารดังต่อไปนี้ 2.1 ใบ Ehefähigkeitszeugnis ของ ฝ่ายชาวเยอรมัน 2.2 หนังสือเดินทาง ของทั้ง 2 ฝ่าย 2.3 ชื่อ สะกด ภาษาไทย ของฝ่ายเยอรมัน 3. ส่ง สแกนเอกสารตาม ข้อ 2 และ ส่ง emailไปยัง rk-13@bangk.auswaertiges-amt.de ระบุว่าต้องการ ขอหนังสือรับรองการจดทะเบียนสมรส 4. สถานทูตเยอรมันประจำประเทสไทยจะตอบกลับเพื่อนัดหมาย รับเอกสาร 5. เมื่อถึงวันนัดหมายให้เตรียมเอกสารทั้งหมด ของทั้ง 2ฝ่าย ( ตัวจริง ) ฝ่ายชายต้องมาเซ็นชื่อด้วยตนเอง สถานทูตเปิดเวลา 8.30-12.00 ขั้นตอนที่ 8 : การจดทะเบียนสมรสที่สำนักงานเขตบางรัก ( ใกล้ และ ไม่ต้องรับรองกระทรวง ) 1. เอกสารทั้งหมดของทั้ง 2 ฝ่าย 2. พยาน 2 คน พร้อมบัตรประจำตัวประชาชน ( ไม่มีพยานจดทะเบียนสมรสไม่ได้) 3. ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนนามสกุล หรือ คำนำหน้า 4. นำ คร. 2 และ คร. 3 ไปรับรองการเอกสารไม่ปลอมแปลงที่สถานทูต เยอรมัน 5. แปลเอกสารเป็นภาษาเยอรมัน  

Recent Posts
Archive
Search By Tags
No tags yet.
Follow Us
bottom of page